สงวนลิขสิทธิ์ © 2018 KidBright.info : พัฒนาโดย บริษัท อาร์ทรอน ชอป จำกัด
iKB-1
iKB-1

iKB-1

รายละเอียด (Description)

สร้างเมื่อ วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2561 10:27 น. • อัพเดทเมื่อ วันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2566 17:21 น. • โดย INEX

ปลั๊กอินสำหรับบอร์ด iKB-1 ต่อขยายขาของบอร์ด KidBright32 ให้มีขาต่อใช้งาน-

  1. เซ็นเซอร์ / อุปกรณ์ดิจิทัลอินพุตเอาพุต / อุปกรณ์แอนาล็อกเอาต์พุต จำนวน 8 ช่อง
  2. เซอร์โวมอเตอร์ รองรับรุ่น 180 องศา และ 360 องศา จำนวน 6 ช่อง
  3. มอเตอร์ ไดร์ภายใน 2 ช่อง และไดร์ภายนอกจำนวน 2 ช่อง
  4. Serial / UART / RS232 (TTL) จำนวน 1 ช่อง

โครงสร้างบอร์ด iKB-1

การติดตั้ง

สำหรับ KidBrightIDE เวอร์ชั่น New UI

ใช้การติดตั้งจาก Source code

  1. ดาวน์โหลดไฟล์ปลั๊กอินเวอร์ชั่น Source code ได้ที่ส่วนดาวน์โหลด (อยู่ด้านล่างของหน้านี้)
  2. เปิดโปรแกรม KidBrightIDE กด Plugins > Install Plugins
  3. เลือกไฟล์ปลั๊กอินที่ดาวน์โหลดไว้
  4. โปรแกรม KidBrightIDE จะปิดแล้วเปิดใหม่ บล็อกใหม่จะอยู่ในเมนู iKB-1

(ยกเลิกใช้) สำหรับ KidBright เวอร์ชั่นเก่า

ใช้การติดตั้งด้วยโปรแกรมช่วยติดตั้ง

  1. ดาวน์โหลดไฟล์ปลั๊กอินเวอร์ชั่น Installer ได้ที่ส่วนดาวน์โหลด (อยู่ด้านล่างของหน้านี้)
  2. แตกไฟล์ zip ออกมา จะได้ไฟล์ชื่อ iKB-1 Installer Vx.x.x.exe ให้ดับเบิลคลิกเปิดไฟล์นี้
  3. ปลั๊กอินจะถูกติดตั้งให้อัตโนมัติ และแจ้งผลการติดตั้ง
  4. เปิดโปรแกรม KidBrightIDE บล็อกจะอยู่ในเมนู ปลั๊กอิน > iKB-1

(ยกเลิกใช้) สำหรับ KidBright ที่ Clone มาจาก GitLab

กรณีต้องการใช้ตัวช่วยติดตั้ง

  1. ดาวน์โหลดไฟล์ปลั๊กอินเวอร์ชั่น Installer ได้ที่ส่วนดาวน์โหลด (อยู่ด้านล่างของหน้านี้)
  2. แตกไฟล์ zip ออกมา จะได้ไฟล์ชื่อ iKB-1 Installer Vx.x.x.exe ให้ดับเบิลคลิกเปิดไฟล์นี้
  3. โปรแกรมช่วยติดตั้งจะแจ้งค้นหาโปรแกรม KidBrightIDE ไม่เจอ พร้อมแจ้งให้เลือกโฟลเดอร์ kbide
  4. เลือกโฟลเดอร์ kbide ที่สั่ง Clone มา
  5. ปลั๊กอินจะถูกติดตั้งให้อัตโนมัติ และแจ้งผลการติดตั้ง
  6. เปิดโปรแกรม KidBrightIDE บล็อกจะอยู่ในเมนู ปลั๊กอิน > iKB-1

กรณีต้องการติดตั้งเอง

  1. ดาวน์โหลดไฟล์ปลั๊กอินเวอร์ชั่น Source code ได้ที่ส่วนดาวน์โหลด (อยู่ด้านล่างของหน้านี้)
  2. แตกไฟล์ที่ได้ดาวน์โหลดมา จะได้โฟลเดอร์ ikb_1_plugin
  3. ย้ายโฟลเดอร์ ikb_1_plugin ไปไว้ที่โฟลเดอร์ kbide/plugins
  4. เปิดโปรแกรม KidBrightIDE บล็อกจะอยู่ในเมนู ปลั๊กอิน > iKB-1

การใช้งาน

ต่อบอร์ด iKB-1 เข้ากับบอร์ด KidBright32 ด้วยสาย KB Chain ที่แถมมาด้วย

914LxP.jpg

บล็อกเลือกหมายเลข I2C

ใช้เลือกหมายเลข I2C (I2C Slave Address) ที่กำหนดบน iKB1-Z บล็อกนี้รองรับเฉพาะ iKB1-Z เท่านั้น

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
บล็อกเลือกหมายเลข I2C select I2C address

ควรใช้บล็อกนี้เป็นบล็อกแรกสุด เพื่อให้บล็อกอื่น ๆ ของ iKB-1Z ทำงานได้ปกติ

บล็อกอ่านค่าดิจิทัล

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
บล็อกอ่านค่าดิจิทัล digital read

ใช้อ่านค่าดิจิทัลจากช่อง 0 ถึง 7 (JST สีแดง) ให้ค่าออกมาเป็นตัวเลข 0, 1 และจริง เท็จตามลอจิกที่อ่านได้จริง ใช้งานกับบล็อกเงื่อนไข (if) และบล็อกไม่ (Not) ได้

ตัวอย่างการนำไปใช้

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
โค้ดโปรแกรมแสดงรูปยิ้มเมื่อมีคนเดินผ่าน 9iE5Gg.png

ใช้บล็อกนี้เพื่ออ่านค่าจาก PIR เซ็นเซอร์ - เมื่อ PIR ตรวจจับความเคลื่อนไหวได้ จะให้เอาต์พุตออกมาเป็นลอจิก 1 บล็อกอ่านค่าดิิจิตอล อ่านค่าได้ 1 จึงเข้าเงื่อนไข แล้วแสดงรูปยิ้มออกมาทางหน้าจอของบอร์ด KidBright

บล็อกเขียนค่าดิจิทัล

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
บล็อกเขียนค่าดิจิทัล digital write

ใช้เขียนค่าลอจิก 0/1 หรือ จริง/เท็จ ไปที่ช่อง 0 ถึง 7 (ช่อง JST สีแดง) เพื่อสั่งงานอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น หลอด LED

ตัวอย่างการนำไปใช้

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
โค้ดไฟวิ่ง 9ibWaq.png

ใช้บล็อกนี้เพื่อสั่งหลอด LED - ในวันคริสมาสต้องการให้หลอดไฟที่ต้นคริสมาสติดตามรูปแบบที่กำหนด จึงเขียนโปรแกรมสั่งให้หลอด LED ติดทีละดวงไปเรื่อย ๆ โดยดวงสุดท้ายติดอยู่ที่ดาวของต้นคลิสมาส จึงให้สว่างค้างนานกว่างดวงอื่น ๆ

บล็อกอ่านค่าแอนาล็อก

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
บล็อกอ่านค่าแอนาล็อก analog read

ใช้อ่านค่าแอนาล็อก ความละเอียด 10 บิต จากช่อง 0 ถึง 7 (ช่อง JST สีแดง) ให้ค่าออกมาเป็นตัวเลข 0 ถึง 1023

ตัวอย่างการนำไปใช้

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
โค้ดเครื่องวัดความสุขของต้นไม้ 9ibT4l.png

ใช้บล็อกนี้กับเซ็นเซอร์วัดความชื้นในดิน - ต้องการสร้างเครื่องวัดความสุขของต้นไม้ จึงรวบรวมสิ่งที่บ่งบอกได้ว่าต้นไม้มีความสุข หนึ่งในนั้นคือความชื้นในดิน หากความชื้นในดินพอเหมาะ ก็จะทำให้ต้นไม้ได้รับสารอาหารเพียงพอ ส่งผลให้ต้นไม้มีความสุข

จึงใช้บล็อกอ่านค่าแอนาล็อกอ่านค่าแอนาล็อกจากเซ็นเซอร์ออกมา แล้วแปลงออกมาเป็นคะแนนความสุขของต้นไม้ 1 ถึง 5

บล็อกควบคุมมอเตอร์

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
บล็อกควบคุมมอเตอร์ set motor

ใช้ควบคุมมอเตอร์ที่ต่อช่อง 1, 2 (ไดร์บนบอร์ด) และช่อง 3, 4 (ไดร์ภายนอก) ควบคุมทิศทาง หมุนตาม/หมุนทวน และควบคุมความเร็ว 0 ถึง 100%

ตัวอย่างการนำไปใช้

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
โค้ดสั่งหุ่นยนต์หมุนรอบตัวเอง 9ibcPV.png

ใช้ควบคุมการหมุนของล้อในหุ่นยนต์เดินตามเส้น - ต้องการให้หุ่นยนต์หมุนรอบตัวเอง 3 รอบ จึงใช้บล็อกควบคุมมอเตอร์ สั่งให้ล้อขวาไม่วิ่ง (ล้อขวาต่อกับมอเตอร์ และมอเตอร์ต่อกับช่องขับมอเตอร์ 1) และใช้บล็อกควบคุมมอเตอร์สั่งให้ล้อซ้ายหมุนตามเข็มที่ความเร็ว 50% ทดสอบหุ่นยนต์หมุน 1 รอบใช้เวลา 4 วินาที จึงหน่วงเวลา 3 รอบ * 4 วินาที = 12 วินาที

บล็อกควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ 180 องศา

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
บล็อกควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ 180 องศา set servo

ใช้ควบคุมเซอร์โว 180 องศา ที่ต่อช่อง 10 ถึง 15 (ในโปรแกรม ช่อง 1 คือช่อง 10) ให้หมุน 0 ถึง 200 องศา

ตัวอย่างการนำไปใช้

9wXRA1.jpg

ที่มา: https://blog.arduino.cc/2016/09/05/unlock-your-door-with-a-simple-hand-gesture/

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
โค้ดล็อกประตูด้วยเซอร์โวมอเตอร์ 9ibxbn.png

สั่งเซอร์โวมอเตอร์ให้ล็อกประตู - ต้องการสร้างกลอนล็อกประตูอิเล็กทรอนิกส์ พบว่ากลอนที่ใช้อยู่เป็นแบบเลื่อนล็อก จึงใช้เซอร์โวมอเตอร์มาต่อกับกลอนประตู ทดสอบการทำงานโดยกดปุ่ม S1 ให้ล็อกประตู และกดปุ่ม S2 ให้ปลดล็อก

ทดสอบสั่งงานเซอร์โวมอเตอร์แล้ว หากต้องการให้ประตูล็อก ต้องสั่งใหเซอร์โวมอเตอร์หมุน 100 องศา และหากต้องการปลดล็อก ต้องสั่งให้หมุน 5 องศา จึงเขียนโปรแกรมเมื่อกดปุ่ม S1 ให้เซอร์โวหมุน 100 องศา และเมื่อกดปุ่ม S1 ให้เซอร์โวหมุน 5 องศา

บล็อกควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ 360 องศา

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
บล็อกควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ 360 องศา set servo 2

ใช้ควบคุมเซอร์โวปรับแต่ง ที่ต่อช่อง 10 ถึง 15 (ในโปรแกรม ช่อง 1 คือช่อง 10) ให้ หมุนตาม/หมุนทวน และควบคุมความเร็ว 0 ถึง 100%

ตัวอย่างการนำไปใช้

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
โค้ดสั่งให้หุ่นยนต์เดินหน้า 1 เมตร 9ibLUl.png

ใช้ควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ที่ต่อกับล้อของหุ่นยนต์ - ต้องการให้หุ่นยนต์ส่งของวิ่งไปที่จุดส่งของที่ห่างออกไป 1 เมตร ตัวหุ่นยนต์ใช้เซอร์โวมอเตอร์ 360 องศา เป็นตัวขับเคลื่อน ทดสอบแล้วที่ความเร็ว 100% ใช้เวลา 5 วินาที จะวิ่งได้ 1 เมตรพอดี ในโค้ดโปรแกรมจึงกำหนดให้เซอร์โวมอเตอร์หมุน 100% เป็นเวลา 5 วินาที

หมายเหตุ ในโค้ดให้หุ่นบนต์หมุนล้อเดียวเพื่อเป็นตัวอย่างเท่านั้น ความเป็นจริงต้องสั่งให้ล้อหมุน 2 ล้อพร้อมกัน หุ่นยนต์จึงจะวิ่งตรง

บล็อกเกี่ยวกับการสื่อสารผ่าน Serial

บล็อกเกี่ยวการสื่อสารผ่าน Serial สามารถใช้งานได้กับโมดูลบลูทูธ HC-05 / HC-06 และโมดูลอื่นที่สื่อสารผ่าน Serial มีบล็อกให้ใช้งานดังนี้

บล็อกตั้งค่า Baud rate

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
บล็อกตั้งค่า Baud rate serial baud rate

ใช้ตั้งค่า baud rate ของการรับ-ส่งข้อมูลผ่าน Serial สามารถตั้งได้ 9600/2400/57600 หรือ 115200

บล็อกส่งข้อความ

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
บล็อกส่งข้อความ serial write

ใช้ส่งข้อความที่เป็น String ผ่าน Serial โดยมี 2 บล็อกให้เลือก คือส่งข้อมูลอย่างเดียว หรือส่งข้อมูลพร้อมขึ้นบรรทัดใหม่

บล็อกอ่านข้อมูลที่รออ่านจากบัฟเฟอร์

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
บล็อกอ่านข้อมูลที่รออ่านจากบัฟเฟอร์ serial available

บัฟเฟอร์เปรียบเสมือนที่เก็บข้อมูลชั่วคราว เมื่อมีการส่งข้อมูลมา ข้อมูลจะถูกเก็บลงบัฟเฟอร์ เมื่อต้องการอ่านข้อมูล จึงไปอ่านจากบัฟเฟอร์ บล็อกนี้ใช้อ่านจำนวนข้อมูลที่รออ่านจากบัฟเฟอร์ ให้ข้อมูลเป็นตัวเลข 0 ถึง 255

บล็อกอ่านข้อมูล 1 ไบต์

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
บล็อกอ่านข้อมูล 1 ไบต์ serial read one byte

ใช้อ่านข้อมูล 1 ไบต์ จะให้เอาต์พุตออกมาเป็นตัวเลขรหัสแอสกี้

บล็อกอ่านข้อมูลเป็น String ตามจำนวนตัวอักษรที่กำหนด

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
บล็อกอ่านข้อมูลเป็น String ตามจำนวนตัวอักษรที่กำหนด 9iQ7x9.png

ใช้อ่านข้อมูลเป็นชุดแบบ String ตามจำนวนตัวอักษรที่กำหนด สามารถนำเอาต์พุตจากบล็อกนี้ ไปใส่บล็อก แอลอีดี 16x8 (ทุกบล็อก) ได้

บล็อกอ่านข้อความ

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
บล็อกอ่านข้อความ serial read string

ใช้อ่านข้อมูลเป็นชุดแบบ String โดยจะคำนวณตัวอักษรที่ต้องอ่านออกมาอัตโนมัติ สามารถนำเอาต์พุตจากบล็อกนี้ ไปใส่บล็อก แอลอีดี 16x8 (ทุกบล็อก) ได้

บล็อกอ่านข้อความ 1 บรรทัด

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
บล็อกอ่านข้อความ 1 บรรทัด serial read line

ใช้อ่านข้อมูลเป็นชุดแบบ String โดยจะตัดข้อความออกมาเมื่อเจอตัวขึ้นบรรทัดใหม่ (\n) สามารถนำเอาต์พุตจากบล็อกนี้ ไปใส่บล็อก แอลอีดี 16x8 (ทุกบล็อก) ได้

บล็อกอ่านข้อความ จำกัดความยาวจากตัวอักษรที่กำหนด

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
บล็อกอ่านข้อความ จำกัดความยาวจากตัวอักษรที่กำหนด serial read until

ใช้อ่านข้อมูลเป็นชุดแบบ String โดยจะตัดข้อความออกมาเมื่อเจอตัวอักษรที่กำหนด โดยตัวอักษรที่กำนดจะต้องมีความยาว 1 ตัวอักษรเท่านั้น สามารถนำเอาต์พุตจากบล็อกนี้ ไปใส่บล็อก แอลอีดี 16x8 (ทุกบล็อก) ได้

ตัวอย่างการนำไปใช้

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
9ij0lS.png 9ijYBg.png

แสดงค่าอุณหภูมิบนแอพพลิเคชั่น รับ-ส่งข้อมูลด้วยบลูทูธโดยใช้ HC-05 - ศูนย์ข้อมูลหนึ่งต้องการมอนิเตอร์อุณหภูมิตลอดเวลา เพื่อตรวจสอบการทำงานของแอร์ เมื่อแอร์เสียเจ้าหน้าที่สามารถสั่งปิดเครื่องเซอร์เวอร์ได้ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์เมื่ออุณหภูมิสูงเกิน

จากความต้องการดังกล่าว หัวหน้าผู้ดูแลศูนย์ข้อมูลต้องการข้อมูลแบบทันที จึงใช้เซ็นเซอร์บนบอร์ด KidBright32 วัดอุณหภูมิ แล้วส่งข้อมูลผ่านบอร์ด iKB-1 ไปที่ HC-05 และข้อมูลจึงถูกส่งไปยังหัวหน้าผู้ดูแลศูนย์ข้อมูลแบบทันที

หัวหน้าผู้ดูแลศูนย์ข้อมูลต้องการทดสอบการทำงานของระบบที่ออกแบบขึ้น จึงให้บอร์ด KidBright32 แสดงผลข้อมูลที่รับได้จากบลูทูธด้วย

บล็อกเสริมสำหรับทำ Robot Car

บล็อกส่วนนี้ สร้างมาเพื่อให้นำ iKB-1 ไปใช้งานร่วมกับบอร์ด KidBright สร้างรถเดินตามเส้น รถบังคับ หรือรถแบบอื่น ๆ อำนวยความสะดวกด้วยบล็อกกำหนดการทำงานของมอเตอร์ที่ใช้งานง่ายขึ้น

บล็อกวิ่งไปข้างหน้าแบบกำหนดความเร็ว

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
tcjbM1.jpg tcOvmu.jpg

ใช้สั่งให้รถวิ่งไปข้างหน้าด้วยความเร็วตามที่กำหนด โดยกำหนดความเร็วได้ 0 ถึง 100%

บล็อกวิ่งถอยหลังแบบกำหนดความเร็ว

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
tcjlwy.jpg tcOps0.jpg

ใช้สั่งให้รถวิ่งถอยหลังด้วยความเร็วตามที่กำหนด โดยกำหนดความเร็วได้ 0 ถึง 100%

บล็อกสั่งให้รถเดินหน้ากำหนดความเร็วล้อ

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
tcjoDD.jpg tcOJ9Z.jpg

ใช้สั่งให้รถเดินหน้าโดยกำหนดความเร็วแต่ละล้อเอง ใช้แก้ปัญหารถวิ่งไม่ตรงได้

บล็อกสั่งให้รถเดินหน้ากำหนดความเร็วล้อ

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
tcjDL9.jpg tcOLbI.jpg

ใช้สั่งให้รถเดินหน้าโดยกำหนดความเร็วแต่ละล้อเอง ใช้แก้ปัญหารถวิ่งไม่ตรงได้

บล็อกเลี้ยวซ้ายแบบกำหนดความเร็ว

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
tcjPhJ.jpg tcOepP.jpg

ใช้สั่งให้รถเลี้ยวซ้ายด้วยความเร็วตามที่กำหนด โดยกำหนดความเร็วได้ 0 ถึง 100%

บล็อกเลี้ยวขวาแบบกำหนดความเร็ว

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
tcjsEb.jpg tcOyNt.jpg

ใช้สั่งให้รถเลี้ยวขวาด้วยความเร็วตามที่กำหนด โดยกำหนดความเร็วได้ 0 ถึง 100%

บล็อกหมุนซ้ายแบบกำหนดความเร็ว

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
tcj2Xf.jpg tcOFQe.jpg

ใช้สั่งให้รถหมุนซ้ายด้วยความเร็วตามที่กำหนด โดยกำหนดความเร็วได้ 0 ถึง 100%

บล็อกหมุนขวาแบบกำหนดความเร็ว

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
tcjuYa.jpg tcOIrl.jpg

ใช้สั่งให้รถหมุนขวาด้วยความเร็วตามที่กำหนด โดยกำหนดความเร็วได้ 0 ถึง 100%

บล็อกสั่งให้รถหยุด

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
tcj6Rq.jpg tcbW0k.jpg

ใช้สั่งให้รถหยุดวิ่ง

ข้อแตกต่างระหว่างรถเลี้ยวและรถหมุน

กรณีรถเลี้ยวซ้าย/หมุนซ้าย

ล้อซ้าย ล้อขวา
รถเลี้ยว หยุด วิ่งไปข้างหน้า
รถหมุน วิ่งถอยหลัง วิ่งไปข้างหน้า

กรณีรถเลี้ยวขวา/หมุนขวา

ล้อซ้าย ล้อขวา
รถเลี้ยว วิ่งไปข้างหน้า หยุด
รถหมุน วิ่งไปข้างหน้า วิ่งถอยหลัง

ตัวอย่างการนำไปใช้

โค้ดสั่งให้รถวิ่งวน

บล็อกภาษาไทย บล็อกภาษาอังกฤษ
tcjpkZ.jpg tcjXLu.jpg

แหล่งจ่ายไฟ

บนบอร์ด iKB-1 ใช้แรงดันไฟฟ้า 5V และ 3.3V ซึ่งแต่ละจุดต่อจะให้แรงดันเอาต์พุตไม่เท่ากันดังนี้

แหล่งจ่ายไฟ 3.3V

แหล่งจ่ายไฟ 3.3V ได้รับแรงดันไฟฟ้ามาจาก 2 ส่วน คือแรงดันที่ได้จากบอร์ด KidBright32 ผ่านช่อง KB Chain และแรงดันที่มาจากช่อง DC Input 7-9Vdc ผ่านเรกกูเลเตอร์ 2A

แหล่งจ่ายไฟ 3.3V ใช้จ่ายไฟเลี้ยงให้กับไอซีไมโครคอนโทรลเลอร์หลักของบอร์ด ดังนั้นเพียงเสียบสาย KB Chain ก็ทำให้บอร์ดทำงานได้เลย และทำให้บอร์ดสามารถใช้งานกับอุปกรณ์บางอย่างได้

ช่องต่อที่ใช้แหล่งจ่ายไฟ 3.3V มีดังนี้

  • ช่อง GPIO 0-7 (JST สีแดง)
  • ช่องต่อ Serial RX/TX
  • ช่องต่อมอเตอร์ ชุดที่ 3 และ 4

ช่องต่อเหล่านี้จำเป็นต้องใช้งานกับอุปกรณ์ที่ใช้แรงดันไฟฟ้า 3.3V เท่านั้น มิฉนั้นอาจจะทำให้บอร์ด iKB-1 เสียหาย

แหล่งจ่ายไฟ 5V

แหล่งจ่ายไฟ 5V ได้รับแรงดันไฟฟ้ามาจากช่อง DC Input 7-9Vdc ผ่านเรกกูเลเตอร์ 2A ช่วยจ่ายไฟให้ช่องต่อ ต่อไปนี้

  • ช่องต่อมอเตอร์ ชุดที่ 1 และ 2
  • ช่องต่อเซอร์โวมอเตอร์

ไม่สามารนำอุปกรณ์ที่ใช้แรงดันไฟเลี้ยง 3.3V มาต่อกับช่องดังกล่าวได้

สรุปเรื่องแหล่งจ่ายไฟ

ผังแรงดันไฟฟ้าในแต่ละจุดของบอร์ด iKB-1

ช่องเสียบต่อไปนี้ เสียบเข้ากับช่องต่อแล้วใช้งานได้เลย

  • ช่อง GPIO 0-7 (JST สีแดง)
  • ช่องต่อ Serial RX/TX
  • ช่องต่อมอเตอร์ ชุดที่ 3 และ 4

และช่องเสียบต่อไปนี้ ต้องเสียบอะแดปเตอร์ 7-9Vdc เพิ่มเติม

  • ช่องต่อมอเตอร์ ชุดที่ 1 และ 2
  • ช่องต่อเซอร์โวมอเตอร์

Source code

ปัจจุบันโค้ดต้นฉบับอยู่ที่ https://github.com/inexglobal/ikb_1_plugin นักพัฒนาท่านอื่นสามารถช่วยกันส่ง Pull Requests เข้ามาเพื่อปรับปรุงปลั๊กอินนี้ได้

เวอร์ชั่น (Version)

iKB-1 V2.2.0 (Source code)

iKB-1 V2.1.1 (.exe Installer)

iKB-1 V2.1.1 (Source code)

iKB-1 V1.1.1 (.exe Installer)

iKB-1 V1.1.1 (Source code)

ความคิดเห็น (Comment)

x

ตัวอย่างบล็อก